หมวดหมู่: เกษตร

EECเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์


ชลประทานกำหนด 6 แผนเพิ่มแหล่งน้ำต้นป้องกัน EEC ขาดแคลนยามแล้ง

     ปัญหาภัยแล้งกับน้ำหลากนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย ในพื้นที่ภาคตะวันออกโดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรีที่มีสวนผลไม้เป็นจำนวนมากนั้น บางปีมีน้ำท่วมท้ายปีหัวปีถึง 2 ครั้ง แต่ก็ยังต้องเผชิญกับภัยแล้งช่วงต้นปีถัดไป

       เมื่อปี 2562 ภัยแล้งในภาคตะวันออกหนักสุดในรอบ 14 ปี จังหวัดที่อยู่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(Eastern Economic Corridor: EEC) ทั้ง 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มีปัญหาขาดน้ำทั้งเพื่อการอุปโภค-บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมอย่างหนัก จากแนวโน้มของภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จึงได้เสนอของบประมาณราว 8.8 หมื่นล้านบาทเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ

      กรมชลประทานจึงได้กำหนด 6 แผนงานขึ้นมาดำเนินการเพื่อป้องกันภัยแล้งในพื้นที่ EEC รองรับระยะเวลา 10 ปี  

EEC

       นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน  ได้กล่าวถึงแผนพัฒนาการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับ EEC ในระยะ 10 ปีที่กรมชลประทานดำเนินการบางส่วนเสร็จแล้วผ่านการประชุมออนไลน์กับผู้สื่อข่าวเมื่อ 29 กรกฏาคมที่ผ่านว่า 

       ในพื้นที่ EEC ทั้ง 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา รวมทั้งจันทบุรีนั้น มีรูปแบบการใช้น้ำแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ชลบุรี นั้นมีพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยว ธุรกิจการท่องเที่ยวค่อน 80-90% มีความต้องการใช้นำเพื่ออุปโภคบริโภคสูง โดยชลบุรีมีอ่างเก็บน้ำบางพระเป็นจุดรับน้ำสุดท้ายจากจันทบุรี ระยองมาไว้ที่นี่เพื่อกระจายน้ำให้ใช้ในเขตนี้

       “เราแบ่งความชัดเจนเลยว่าในเขตของชลบุรี เป้าหมายเดิมของอ่างเก็บน้ำบางพระ อ่างเก็บน้ำหนองค้อ อ่างเก็บน้ำพัทยา  ที่มีความจุ 241 ล้าน ป้าหมายเมื่อ 20 ปีก่อนคือพื้นที่การเกษตร เป้าหมายนี้ยังไม่เปลี่ยน แต่กิจกรรมในพื้นที่เปลี่ยนไป พี่น้องเกษตรเปลี่ยน หมู่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้น โรงแรมเพิ่มขึ้น เปลี่ยนจากที่นาเป็นหมูบ้านจัดสรร ความต้องการใช้น้ำของคนเปลี่ยนไป”นายเฉลิมเกียรติอธิบาย

       ความต้องการใช้น้ำในปี 63-64 อยู่ประมาณ 350-400  ล้าน ลบ.ม. แต่ถ้าถึงปี 2582 ที่คำนวณไว้ในรอบ 20 ปี ความต้องการใช้น้ำจะอยู่ที่ประมาณ 1,050 ล้าน ลบ.ม. จึงต้องหาน้ำเพิ่มประมาณ 400-500 ล้าน ลบ.ม.แต่ชลบุรีนั้นแทบจะทำอ่างไม่ได้แล้ว ความเจริญสูงและทำไว้เยอะแล้ว จึงต้องใช้วิธีดึงน้ำจากแหล่งน้ำในจังหวัดที่มีศักยภาพมาช่วยกัน โดยหลักการนี้เกิดจากเมื่อหลาย 10 ปีเคยเกิดปัญหาเรื่องน้ำแล้งจัด ทำให้เกิดมติ ครม.มาตั้งแต่ครั้งกระนั้นว่จะต้องมีการเตรียมการดำเนินการ 

        ส่วนระยองนั้นมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมมากพอๆ กับการเกษตร การดำเนินการแก้ไขด้วยการเพิ่มความจุของอ่างเก็บน้ำ  มีที่คลองใหญ่ หนองปลาไหล อ.น้ำบ้านบึง มาบประชัน คลองสียัด มีการขุดลอกอ่างเก็บน้ำดอกราย 

       “พวกนี้มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากพอ อ่างพวกนี้มีความจุหลักสิบล้าน ร้อยล้าน อ่างคลองใหญ่เพิ่มไดซัก 10 ล้าน หนองปลาไหลเพิ่มได้ซัก 23 ล้าน ลบ.ม. คลองสียัดได้ 30 ล้าน ลบ.ม. ที่ระยองก็จะได้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเราจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ก่อน โดยในหน้าฝนจึงจะดึงน้ำมาลงอ่างที่ชลบุรี 

        นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำหนองค้อ ประแสร์ ที่บางพระ นี่เก็บได้ทั้งปี แต่การใช้ก็มีปีละเป็นร้อยๆ ล้าน”นายเฉลิมเกียรติกล่าว

        รองอธิบดีกรมชลประทานพูดถึงจันทบุรีว่า“ส่วนที่จันท์นั้นปริมาณน้ำดี เน้นที่การเกษตรส่วนผลไม้เยอะ เราจึงเน้นที่การเกษตร เรามีอ่างเก็บน้ำที่สร้างไว้แล้ว มีอ่างเก็บน้ำประแกดที่สร้างไว้แล้ว คลองหางแมว พะวาใหญ่กำลังสร้าง ปริมาณกักเก็บเป็นร้อยล้าน เน้นพื้นที่เกษตรเป็นแสนไร่กับน้ำกินน้ำใช้ โดยมีการทำสถานีสูบน้ำคลองสะพานเพื่อสูบกลับไปลงอ่างอีกที     ที่จันทบุรีนี้ความจุของอ่างเก็บน้ำ หากบวกของวันโตนด 99.5 ล้าน ลบ.ม.พะวาใหญ่ หางแมว ประแกด ก็จะได้ 200 ล้าน ลบ.ม. แต่ก็ยังขาด 500-600 ล้าน จึงยังต้องการปริมาณอีกร้อยกว่าล้านจากการสูบกลับ”

       สำหรับแผนการพัฒนาเพื่อรองรับ EEC 10 ปีของกรมชลประทานแบ่งเป็น 6 แผนงาน ประกอบด้วย

       1)ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม 7 แห่ง

       1.เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ 10.1 ล้าน ลบ.ม./ปี เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำ หนองปลาไหล 23.9 ล้าน ลบ.ม/ ทั้ง 2 อ่างนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว

       2.ขุดลอกอ่างเก็บน้ำดอกกราย กำลังดำเนินการ

       3.เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำบ้านบึง 2.4 ล้าน ลบม./ปี กับอ่างเก็บน้ำมาบประชัน 0.9 ล้าน ลบ.ม./ปี อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบ

       4.เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองค้อ 2.6 ล้าน ลบ.ม. 

       5.เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองสียัด 30 ล้าน ลบ.ม.4 4

       2)พัฒนาแหล่งน้ำใหม่ 4 แห่ง 

       1.ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองประแกดเสร็จแล้ว

       2.อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว กำลังก่อสร้าง

3.อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่

       4.อยู่ระหว่างการทำรายงาน EHIA ฉบับสมบูรณ์คืออ่างเก็บน้ำคลองคลองวังโตนด

       3)เชื่อมโยงแหล่งน้ำและระบบผันน้ำ 4 แห่ง

       1.สร้างอาคารอัดน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำประแสร์เสร็จแล้ว

       2.กำลังก่อสร้างมี ปรับปรุงคลองพานทองเพื่อผันน้ำไปอ่างเก็บน้ำบางพระ 

       3.กำลังสร้างอาคารบังคับน้ำแม่น้ำระยอง

       4.เตรียมเสนอเปิดโครงการท่อผันน้ำอ่างเก็บน้ำประแสร์-อ่างเก็บน้ำหนองค้อ-อ่างเก็บน้ำบางพระ

       4)การสูบกลับท้ายอ่างเก็บน้ำ

       1.ระบบสูบน้ำกลับอ่างเก็บน้ำกลับอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 5 ล้าน ลบ.ม./ปี เสร็จแล้ว

       2.ระบบสูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างประแสร์ 50 ล้าน ลบ.ม./ปี

       5)การป้องกันน้ำท่วม 4 แห่ง

       1.สถานีสูบน้ำฯคลองพับมา เสร็จแล้ว

       2.สถานีสูบน้ำฯหนองโพรง เสร็จแล้ว

       3.ปรับปรุงระบบระบายน้ำหน้าพระธาตุ กำลังก่อสร้าง

       4.กำลังปรับปรุงระบบท่าลาด-คลองหลวง

       6)การจัดหาแหล่งน้ำโดยภาคเอกชน(East water) สระทับมา จ.ระยอง

        อย่างไรก็ตามทั้ง 6 แผนนี้ เป็นเพียงแผนพัฒนาการบริหารจัดกี่น้ำเพื่อรองรับ EEC ในระยะ 10 ปี  ยังจำเป็นที่จะต้องมีแผนการพัฒนาและปรับปรุงระบบการีจัดหาน้ำเพื่อใช้ในยามแล้งอื่นๆ มารองรับอีกมากมายนัก โดยเฉพาะการนำน้ำฝนที่มีปริมาณมากในพื้นที่ภาคตะวันออกมาเป็นแหล่งน้ำต้นทุน

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!