หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV4


ขออนุมัติปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ของกรมทางหลวง

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่ - กาญจนบุรี (โครงการฯ) จากเดิม 55,927 ล้านบาท เป็น 56,047.37 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 120.37 ล้านบาท) โดยปรับเพิ่มวงเงินงบประมาณรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง รายการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ช่วงกิโลเมตร 38+500.000 - กิโลเมตร 44+266.833 ตอน 12 จากเดิม 1,911.11 ล้านบาท เป็น 2,031.48 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 120.37 ล้านบาท) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

           สาระสำคัญของเรื่อง

          คค. รายงานว่า

          1. โครงการฯ ในส่วนของสัญญางานโยธา ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ .. 2559 ซึ่งแบ่งออกเป็น 25 สัญญา โดยปัจจุบัน ( เดือนกันยายน 2564) อยู่ระหว่างการก่อสร้างงานโยธา 21 สัญญา และก่อสร้างแล้วเสร็จ 4 สัญญา มีผลงานร้อยละ 61.24 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 3.63) รวมทั้งจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินครบถ้วนแล้ว

          2. กรมทางหลวงแจ้งว่า โครงการฯ (ตอน 12) มีระยะทาง 5.77 กิโลเมตร ซึ่งเริ่มต้นสัญญาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 และจะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 มีผลงานร้อยละ 28.60 เร็วกว่าแผนร้อยละ 1.24 (แผนงานร้อยละ 27.36) แต่ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการตอนดังกล่าวมีปัญหาอุปสรรคในการก่อสร้างจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขแบบก่อสร้างซึ่งส่งผลให้วงเงินค่าก่อสร้างปรับเพิ่ม จากเดิม 1,911.11 ล้านบาท เป็น 2,031.48 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 120.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.30 ของค่างาน ตามสัญญาเดิม) ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โครงการฯ (ตอน 12) ได้พิจารณาแล้วมีมติว่าการปรับรูปแบบของโครงการฯ เกิดจากการปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของหน่วยงานที่โครงการฯ ตัดผ่าน เพื่อบรรเทาผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับชุมชน และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพทางกายภาพของพื้นที่ โดยรูปแบบการแก้ไขปัญหาตามสัญญาใหม่เป็นรูปแบบที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิศวกรรมแล้ว โดยการดำเนินการดังกล่าวมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

                 2.1 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง

 

รูปแบบตามสัญญาเดิม

 

รูปแบบตามสัญญาใหม่

 

เหตุผลความจำเป็นในการปรับปรุง

กรณีที่ 1 ปรับรูปแบบสะพาน โดยการยกระดับสะพาน

- เป็นงานก่อสร้างสะพานข้ามคลองชลประทาน จำนวน 2 จุด

- โครงสร้างเป็นสะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวยู (U - Girder)

- ความยาวสะพานประมาณ 19.40 - 25.40 เมตร

- ความสูงช่องลอดใต้สะพาน 4 เมตร

 

- ปรับเพิ่มช่วงความยาวสะพานจากเดิม 24.50 เมตร เป็น 40 เมตร สำหรับกิโลเมตร 41+700.000

- ปรับเพิ่มช่วงความยาวสะพานจากเดิม 20 เมตร เป็น 30 เมตรสำหรับกิโลเมตร 42+750.000

- เพิ่มความสูงของช่องลอดใต้สะพาน จากเดิม 4 เมตร เป็น 4.50 เมตร

- ก่อสร้างสะพานขาไปและขากลับเพิ่มอีก 3 ช่วง ช่วงละ 20 เมตร รวมทั้งสิ้น 60 เมตร

 

เพื่อแก้ไขความยาวช่วงสะพาน (Span) ให้สอดคล้องกับความกว้างของคลองชลประทาน โดยไม่ให้ตอม่อสะพานอยู่บนคันคลอง พร้อมทั้งปรับความสูงของช่องลอด ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมชลประทาน

กรณีที่ 2 ปรับเพิ่มโครงสร้างปรับการทรุดตัวบริเวณคอสะพาน (Bearing Unit)

งานก่อสร้างคันทางดินถมสลับกับงานก่อสร้างสะพาน

 

ปรับเพิ่มโครงสร้างปรับการทรุดตัวบริเวณคอสะพาน (Bearing Unit) ให้มีความสอดคล้องกับสภาพธรณีวิทยาพื้นที่โครงการ

 

เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพธรณีวิทยาในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างตอนที่ 12 เนื่องจากการเจาะสำรวจเพิ่มเติมพบว่า ชั้นดินมีสภาพธรณีวิทยาแปรปรวน และมีคุณสมบัติยุบตัวสูง ส่งผลต่อการทรุดตัวของคันทาง อีกทั้งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีรถบรรทุกขนส่งผลิตผลการเกษตรสัญจร ทำให้ต้องยกความสูงของช่องลอดสะพานบางแห่ง

 

                  2.2 กรอบวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธาและค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในภาพรวมของโครงการฯ (จำนวน 25 ตอน)

 

รายการ

กรอบวงเงิน (ล้านบาท)

ตามมติคณะรัฐมนตรี 

(12 พฤศจิกายน 2562)

เสนอขอปรับเพิ่ม

ในครั้งนี้

หลังคณะรัฐมนตรี

มีมติอนุมัติ

ค่าก่อสร้างงานโยธา

38,475.00

120.37

38,595.37

ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน

17,452.00

-

17,452.00

รวมทั้งสิ้น

55,927.00

120.37

56,047.37

 

          ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้เห็นชอบให้กรมทางหลวงเพิ่มวงเงินงบประมาณรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์โครงการฯ (ตอน 12) ในวงเงิน 120.37 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว (ซึ่งเพิ่มจากวงเงินตามสัญญา 1,911.11 ล้านบาท เป็นภายในกรอบวงเงิน 2,031.48 ล้านบาท)

          3. การก่อสร้างในส่วนของงานโยธาต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อส่งมอบพื้นที่ตามสัญญาการให้เอกชนร่วมทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance : O&M) ดำเนินการต่อไป โดยกรมทางหลวงจะทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างและงานโยธาให้กับเอกชนคู่สัญญาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป และเร่งรัดงานติดตั้งระบบต่างๆ เช่น ระบบเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมการจราจร เป็นต้น โดยจะเริ่มเปิดทดลองให้บริการ Soft Opening ภายในปี .. 2566 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในปี .. 2567 ตามแผนการดำเนินงานต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 ตุลาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A10412

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!