หมวดหมู่: DES

11658 ZTE AIS


ZTE เผยประสบการณ์ และแพลตฟอร์ม 5G+

สำหรับนิคมอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาสู่โรงงานอัจฉริยะ

          ZTE Corporation ผู้ให้บริการโซลูชั่นระดับโลกในด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่สำหรับลูกค้าองค์กรและผู้บริโภค จับมือ AIS ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และเทคโนโลยีดิจิทัลรายใหญ่ของไทย ในโอกาสทำงานร่วมงานกันมานานกว่า 15 ปี โดยจัดเสวนาแบ่งปันประสบการณ์ เทคโนโลยี 5G และ แพลตฟอร์มบริการจัดการโรงงานอัจฉริยะ เพื่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

 

11658 ZTE จาง เจียนเผิง

 

          นายจาง เจียนเผิง รองประธานอาวุโส ฝ่ายการตลาดระดับโลก บริษัท แซดทีอี คอร์ปอเรชัน กล่าวว่าจากรายงานของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ระบุว่า ภายในปี 2025 เทคโนโลยี 5G จะมีส่วนสัดสูงถึง 14% ของตลาดการสื่อสารเชื่อมต่อทั้งหมด ในขณะเดียวกัน ข้อมูลยังบ่งชี้ว่าส่วนแบ่งการเชื่อมต่อในประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นจนสูงได้ถึง 23% โดยสูงกว่าส่วนแบ่งเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศระยะ 20 ปีของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ ZTE มองว่าการปรับปรุงเครือข่าย 5G และส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จะบรรลุเป้าหมายในการเติบโตตามแผนได้อย่างแน่นอน

          สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ในประเทศจีน จะเห็นว่าอุตสาหกรรมการผลิต กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็ว โดยในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ZTE ได้ดำเนินการพัฒนาแนะนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ใน 15 อุตสาหกรรมในประเทศจีน อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมโลหการทำเหมือง, อุตสาหกรรมโครงข่ายระบบไฟฟ้า, อุตสาหกรรมการขนส่ง, อุตสาหกรรมการท่าเรือ รวมไปถึงอุตสาหกรรมสื่อยุคใหม่ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี 5G เพื่อให้ตอบสนองการทำงานของอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมต่างๆ มักประสบกับปัญหาในการดำเนินการ คือ ดีมานด์ ในการใช้งานเทคโนโลยี 5G ของแต่ละอุตสาหกรรม มีความต้องการที่แตกต่างกันอย่างมาก ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในช่วงต้นต่ำ และพบว่า บางกรณี มีต้นทุนที่สูง แต่ให้ผลลัพธ์ในด้านผลผลิตที่ไม่ชัดเจน การประสานความร่วมมือระหว่างแต่ละอุตสาหกรรมมีความยากลำบาก โดยการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (digital transformation) ขององค์กรต้นน้ำและปลายน้ำ มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน

          จากปัญหาที่พบเหล่านี้ ZTE ให้ความตระหนักและได้คิดค้นวิธีการที่จะส่งเสริมการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยการรวมโครงสร้างพื้นฐานของ 5G เข้าด้วยกัน และจัดหาโมดูลส่วนประกอบที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมุ่งเน้นไปที่สภาพการณ์ของแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อที่จะพัฒนาให้เกิดการทำงานได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด โดยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ 5G ในโรงงานที่พบได้บ่อย คือการใช้ Multi-Access Edge Computing (MEC) ร่วมกับวิสัยทัศน์ของเครื่องจักร หรือแมชชีนวิชั่น (machine vision) ในการตรวจสอบคุณภาพการผลิตและสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทดแทนการปฏิบัติงานด้วยมนุษย์ ซึ่งต้องจ่ายค่าแรงและมีความผิดพลาดสูงกว่า การใช้งานแมชชีนวิชั่นทำให้อัตราปล่อยผ่านของเสีย (defect leakage) ลดลง 80% เมื่อเทียบกับการตรวจสอบโดยมนุษย์ ความแม่นยำของระบบแยกแยะและติดฉลากอัตโนมัติเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 97% ซึ่งทำให้สามารถประหยัดค่าจ้างบุคลากร QC ได้ 50% และเพิ่มอัตราการได้ผลผลิต (production yield rate) ในขณะที่การใช้งานวิสัยทัศน์เครื่องจักรที่โรงงานของกลุ่ม Xinfengming ทำให้อัตราของเสีย (defect rate) ลดลง 60%

 

hino2021

 

          การใช้ระบบรถเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ (AGV) สำหรับงานอุตสาหกรรมของ ZTE ร่วมกับ 5G ทำให้อุปสรรคเดิมๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ wifi หมดไป โดยรถ AGV ชนิดนี้สามารถนำไปใช้งานในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมที่ต่างกันไป เช่นในสภาพแสงซับซ้อน และทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการนำ AGV ออกใช้งานไปได้ 80% (deployment cost) เมื่อเทียบกับการใช้ระบบนำทางแบบดั้งเดิมเช่น QR code หรือแถบแม่เหล็ก และการบริหารกำหนดการ (scheduling) ของ AGV ผ่านแพลตฟอร์มแบบ cloud ช่วยให้ประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น 20% ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อ AGV หนึ่งคันลดลง 10%

          การใช้ 5G พร้อมกับ HD video และ Augmented Reality (AR) ช่วยให้บุคลากรด่านหน้าสามารถปฏิบัติหน้าที่ โดยได้รับการสนับสนุนทันทีจากทีมต่างๆ ซึ่งไม่ได้อยู่หน้าไซต์งาน และยังเป็นการเปิดประตูสู่ประสบการณ์ใหม่ๆ ในด้านการออกแบบ การผลิต การฝึกอบรม การซ่อมบำรุง และการตรวจสอบ โดยพบว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระยะไกล (remote technology) ทำให้ลดความต้องการทรัพยากรด้านผู้เชี่ยวชาญไปได้เกิน 30% ทั้งยังเป็นการลดความยากในการประสานการทำงานระหว่างสถานที่ต่างๆ และยังพบว่าการใช้หุ่นลาดตระเวนแบบ 5G (5G unmanned patrol robot) หนึ่งตัว สามารถทดแทนทรัพยากรมนุษย์ด้านการรักษาความปลอดภัยได้ 3-4 คน โดยหุ่นยนต์สามารถส่งภาพ 360 องศารอบทิศทาง ในระดับความชัด 4K และหลบหลีกสิ่งกีดขวางต่างๆ ได้เอง

          ZTE ได้มีการทดสอบใช้ PLC แบบ cloud (Cloud Programmable Logic Control) สำหรับระบบควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมโดยพบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ PLC และลดความหน่วงของการควบคุม (control latency) ได้ต่ำถึง 10 ms โดยระบบควบคุมโรงงานที่กล่าวนี้ได้ถูกใช้งานที่โรงงานอัจฉริยะของ ZTE เอง ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหนานจิง มลฑลเจียงซู การใช้งานนวัตกรรมอัจฉริยะต่างๆ ในโรงงาน Binjiang Smart Factory ทำให้ความต้องการแรงงานด้านการผลิตต่ำกว่าโรงงานอื่นๆ 25%

 

11658 ZTE AIS2

 

          นอกจากนี้ โรงงาน Yunnan Shenhuo 5G Smart Factory ในมลฑลยูนนาน ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ZTE และบริษัทผู้ผลิตอะลูมิเนียมรายใหญ่ Yunnan Shenhuo มีการใช้งานระบบ 5G Campus Private Network และ MEC ในการควบคุมการดำเนินการด้านต่างๆ โดยมีการใช้แมชชีนวิชั่นทดแทนการใช้เซนเซอร์อุณหภูมิดั้งเดิม เพื่อการตรวจสภาพเหล็กที่อุณหภูมิ 1400 องศาเซลเซียส ซึ่งอุปกรณ์เซนเซอร์ที่ใช้อยู่เดิมสามารถทนอุณหภูมิที่สูงโต่งได้เพียงหนึ่งสัปดาห์ก่อนจะหมดอายุใช้งาน และจำเป็นต้องใช้มนุษย์ช่วยแยกแยะสีบนพื้นผิวเพื่อบ่งชี้อุณหภูมิ ซึ่งความผิดพลาดในการแยกแยะสามารถเกิดขึ้นได้ในประการหลังนี้ และยังมีการใช้แมชชีนวิชั่นในการเฝ้าระวังสายพานการผลิตถึง 11 จุดด้วยกัน ZTE ได้ร่วมมือกับ AIS ในการวางระบบโซลูชั่น NodeEngine ที่โรงงานยาวาต้า จังหวัดนครราชสีมา ในการใช้งาน offloading และการคำนวณแบบ edge computing ในโรงงาน ผลที่ได้พบว่า ระบบดังกล่าวนั้นเหมาะสมกับโรงงานยาวาต้าเป็นอย่างมาก โดยความหน่วงวัดได้เพียง 10 ms เท่านั้นซึ่งตอบรับโจทย์เรื่องข้อกำหนดในการประมวลผลข้อมูลในพื้นที่ได้อย่างดี

 

A11658

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!