หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV9


รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2564

        คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2564 ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เสนอ ดังนี้

        สาระสำคัญของเรื่อง 

        กสทช. ได้รายงานผลการปฏิบัติงาน กสทช. ประจำปี 2564 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

        1. ผลการดำเนินงานที่สำคัญของ กสทช. ปี 2564 ได้ดำเนินภารกิจหลักในการบริหารคลื่นความถี่ การกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่น (1) ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) .. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564) เพื่อให้บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตใช้คลื่นความถี่ มีผลใช้บังคับรองรับกรณีที่สามารถนำไปประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมได้โดยไม่จำกัดเฉพาะกิจการใดกิจการหนึ่ง (2) ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 3500 เมกะเฮิรตซ์ (3) จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคลื่นความถี่แห่งชาติ (4) ออกประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 (5) อนุญาตให้ใช้สิทธิการให้เข้าใช้วงโคจรดาวเทียมสำหรับข่ายงานดาวเทียมประเภทวงโคจรประจำที่ที่ประเทศไทยมีสิทธิอยู่เดิม (6) อนุญาตให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ได้รับสิทธิใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติในการให้บริการในประเทศสำหรับการประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยใช้ดาวเทียมต่างชาติบนอากาศยานเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสาร (7) ส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง (8) จัดระเบียบสายสื่อสาร และการนำสายสื่อสารลงใต้ดินทั่วประเทศ (9) สนับสนุนนโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการดำเนินการป้องกันควบคุมแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างต่อเนื่อง และ (10) ยกระดับสำนักงาน กสทช. สู่การเป็นต้นแบบของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นสำนักงานดิจิทัล “NBTC Digitalization” อย่างเต็มรูปแบบ

 

ais 720x100

 

        2. แผนการดำเนินงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565

        กสทช. และสำนักงาน กสทช. มีแผนการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2565 เช่น (1) การกำกับดูแลกิจการดาวเทียมให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากนโยบายปี 2564 ที่ได้ริเริ่มให้มีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม และ กสทช. ต้องกำกับดูแลกิจการดาวเทียมเต็มรูปแบบหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2564 (2) การจัดทำกฎระเบียบด้านการอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อรองรับการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 30แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ (ฉบับที่ 3) .. 2562 (3) การทดสอบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยเทคโนโลยี 4K และ (4) การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้เหมาะสมกับระบบนิเวศของอุตสาหกรรม โดยได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2565 จำนวน 6,765.78 ล้านบาท [งบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กสทช. 5,755.78 ล้านบาท และเงินจัดสรรเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) และกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 1,010 ล้านบาท]

        3. งบการเงิน และรายงานการตรวจสอบภายใน

             3.1 งบการเงิน (สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2564)

หน่วย : ล้านบาท

รายการ

ปี 2564

ปี 2563

เพิ่มขึ้น/(ลดลง)

1. งบแสดงฐานะการเงิน

สินทรัพย์

     

สินทรัพย์หมุนเวียน

60,053.15

73,331.04

(13,277.89)

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

207,442.33

176,295.31

31,147.02

รวมสินทรัพย์

267,495.48

249,626.35

17,869.13

หนี้สิน

     

หนี้สินหมุนเวียน

48,057.08

55,372.04

(7,314.96)

หนี้สินไม่หมุนเวียน

195,750.79

170,044.58

25,706.21

รวมหนี้สิน

243,807.87

225,416.62

18,391.25

2. งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน

รวมรายได้

78,662.00

104,821.59

(26,159.59)

รวมค่าใช้จ่าย

78,218.23

82,402.92

(4,184.69)

ต้นทุนทางการเงิน

14.01

12.08

1.93

รายได้สูง (ต่ำ)

กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ

429.76

22,406.59

(21,976.83)

 

หมายเหตุ : งบการเงินนี้ยังไม่ได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

 

              3.2 รายงานการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบภายในเห็นว่า การดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. สำหรับปี 2564 โดยรวมมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์และการใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า ตลอดจนมีการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ โดยไม่พบข้อสังเกตที่มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ กระบวนการจัดทำรายงานทางการเงินได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีอันเป็นที่รับรองทั่วไปมีความเหมาะสม รวมถึงมีการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินอย่างเพียงพอและมีความน่าเชื่อถือ

        4. ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เช่น (1) การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจุบันผู้บริโภคได้หันไปบริโภคเนื้อหารายการผ่านช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอื่นที่มิใช่โครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Over the Top: OTT) ซึ่งสามารถรับฟังและรับชมรายการได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านหลากหลายอุปกรณ์ รวมทั้งผู้ให้บริการ OTT มีความได้เปรียบมากกว่าผู้ให้บริการในช่องทางเดิม โดยไม่ถูกกำกับดูแลที่เข้มงวดเช่นเดียวกับผู้ให้บริการโทรทัศน์ รวมถึงไม่ต้องเสียค่าใบอนุญาต และไม่ต้องเสียค่าโครงข่าย ทำให้สถานีโทรทัศน์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และ (2) ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์บางกลุ่มขาดความพร้อมและองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในขั้นพื้นฐานเพื่อใช้งานระบบการยื่นคำขอรับอนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-BCS) ซึ่งสำนักงาน กสทช. มีแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความรู้ให้อย่างต่อเนื่อง

 

EXIM One 720x90 C J

 

        5. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ได้พัฒนา และปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของศูนย์ Call Center 1200 เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารและรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในปี 2564 สำนักงาน กสทช. สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แล้วเสร็จ 108 เรื่อง จากทั้งหมด 173 เรื่อง (ร้อยละ 62.43) และเรื่องร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคมแล้วเสร็จ 1,620 เรื่อง จากทั้งหมด 2,267 เรื่อง (ร้อยละ 71.46)

        6. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ กทปส.

             6.1 ประสิทธิภาพ ในปี 2564 กสทช. ได้เห็นชอบการสนับสนุนเงิน กทปส. ให้แก่โครงการตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ .. 2553 จำนวน 33 โครงการ (เช่น โครงการขยายผลศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมด้อยโอกาสในกลุ่มบ้านสาขาบนพื้นที่สูง และโครงการเส้นทางสู่สื่อมืออาชีพโทรทัศน์และวิทยุรุ่นใหม่) วงเงินจัดสรรทั้งสิ้น 211.48 ล้านบาท (กรอบวงเงินงบประมาณการจัดสรร 400 ล้านบาท) สามารถพิจารณาปรับลดเป็นผลให้ประหยัดงบประมาณได้ 184.81 ล้านบาท (ร้อยละ 47) นอกจากนี้ จากการลงทุนในเงินฝากประจำธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจในประเทศ กทปส. ได้รับอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 0.49 และมีแผนการเบิกจ่าย 14,148.06 ล้านบาท แต่สามารถเบิกจ่ายได้ 4,331.67 ล้านบาท (ร้อยละ 30.62) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากการดำเนินโครงการจัดให้มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่พื้นที่ชายขอบ (Zone C+) และโครงการจัดให้มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่พื้นที่ห่างไกล (Zone C) ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด

             6.2 ประสิทธิผลในปี 2564 กทปส. มีรายได้ทั้งสิ้น 8,826.26 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 จำนวน 32,263.33 ล้านบาท และมีรายจ่ายทั้งสิ้น 2,919.42 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 จำนวน 5,616.45 ล้านบาท ทั้งนี้ มีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2564 โดยสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น (1) แบบจำลองการสร้างต้นแบบเมืองนวัตกรรมอัจฉริยะ ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน และสามารถนำไปใช้เพื่อการเกื้อหนุนวิถีการดำรงชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุ ตลอดจนประชาชนทั่วไปในสังคมไทยในอนาคต และ (2) โครงการระบบแจ้งเตือนและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อช่วยลดอัตราการตายของปลาในกระชัง

 

วิริยะ 720x100

 

        7. รายงานสภาพตลาดและการแข่งขัน

             7.1 กิจการโทรทัศน์ มูลค่าตลาดการให้บริการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่หรือบริการช่องรายการโทรทัศน์แบบดิจิทัลในปี 2564 มีมูลค่ารวมประมาณ 18,097.48 ล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาแนวโน้มของมูลค่าตลาดรวมในแต่ละปี นับตั้งแต่ปี 2558 - 2563 พบว่า ในภาพรวมตลาดยังคงมีแนวโน้มของรายได้ที่เพิ่มขึ้นก่อนจะมีสัดส่วนที่ลดลงตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับมูลค่าตลาดกิจการโทรทัศน์สำหรับกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่หรือบริการช่องรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเคเบิล ดาวเทียม และไอพีทีวี มีมูลค่ารวมประมาณ 1,811.66 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มของรายได้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2559

             7.2 กิจการกระจายเสียง มูลค่าการโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม คลื่นหลักในกรุงเทพมหานคร ในปี 2564 มีมูลค่าประมาณ 3,261.13 ล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ประมาณ 341.12 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 9.7

             7.3 กิจการโทรคมนาคม มีผู้ลงทะเบียนใช้บริการโทรศัพท์ประจำที่ของไทย 4.63 ล้านเลขหมาย ลดลงร้อยละ 7.40 เมื่อเทียบกับปี 2563 และมีผู้ลงทะเบียนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 117.76 ล้านเลขหมาย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 เมื่อเทียบกับปี 2563 ส่วนบริการอินเทอร์เน็ต มีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ประมาณ 13.16 ล้านราย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.48 และมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นจากปี 2563จำนวน 65.98 ล้านเลขหมาย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.62

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 17 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5596

 Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!