หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV1 copy


แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580)

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) และให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินงานด้านผู้สูงอายุนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ

        สาระสำคัญของเรื่อง

        พม. รายงานว่า

        1. ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติตั้งแต่ปี .. 2525 เป็นแผนระยะยาว 20 ปี ครอบคลุมตั้งแต่ปี .. 2525 - 2544 ต่อมาในปี .. 2545 ได้มีการจัดทำและประกาศใช้แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (.. 2545 - 2564) ซึ่งแผนดังกล่าวได้มีการปรับปรุงและติดตามประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ โดยปัจจุบันได้ใช้แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (.. 2545 - 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 .. 2563 เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุของประเทศ และจะสิ้นสุดภายในปี .. 2565 ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีกรอบทิศทางการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุที่มีความต่อเนื่องและสอดคล้องกับบริบทของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบในการบูรณาการและการทำงานเชิงรุกเพื่อรองรับสังคมสูงวัยของประเทศไทยและนำไปสู่สัมฤทธิ์ผลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกรอบแนวคิดในการจัดทำแผนปฏิบัติการฉบับนี้จะเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในทุกระดับและได้นำข้อมูลจากการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 2 มาประกอบกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ได้แก่ สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม นโยบายที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน แนวโน้มทางประชากร และทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต และมีการกำหนดยุทธศาสตร์ มาตรการ เป้าหมาย และดัชนีชี้วัดไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในทุกๆ ระยะ 5 ปีของแผน เพื่อทราบความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงาน และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น

 

AXA 720 x100

aia 720 x100

 

        2. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญ

1. วิสัยทัศน์

 

ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดี มีหลักประกันมั่นคง เป็นพลังพัฒนาสังคม

2. วัตถุประสงค์

 

2.1 เพื่อให้มีกรอบและแนวทางปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสอดรับกับยุทธศาสตร์และแผนแม่บท อันจะก่อให้เกิดการบูรณาการแผนในทุกระดับ และนำไปสู่การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุและการรองรับสังคมสูงวัยของหน่วยงานต่างๆ อย่างมีบูรณาการ

2.2 เพื่อเพิ่มคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้เพิ่มพูนศักยภาพของตนเองอย่างเต็มกำลังความสามารถ

2.3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สภาพแวดล้อม การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นธรรม อันจะทำให้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า พึ่งพาตนเองได้ มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมและมีหลักประกันที่มั่นคงไปจนบั้นปลายของชีวิต

2.4 เพื่อรองรับสังคมสูงวัยเชิงรุก ด้วยการส่งเสริมให้ประชากรที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 25 - 59 ปีในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นผู้สูงอายุในอีก 1 - 35 ปีข้างหน้า ตระหนักและเตรียมการให้พร้อมเพื่อให้มีชีวิตที่ดีในยามสูงอายุ พร้อมที่จะยอมรับและร่วมมือกับผู้สูงอายุในการเป็นพลังขับเคลื่อนสังคม หรือให้การเกื้อหนุนผู้สูงอายุในยามที่จำเป็น

3. แผนปฏิบัติการย่อย

 

แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1) แผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วนใน 5 ปีแรก (.. 2566 - 2570) โดยมีมาตรการและแนวปฏิบัติสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการหรือกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จของมาตรการในรูปของผลลัพธ์หรือผลกระทบโดยมีการกำหนดเป้าหมายในช่วง 5 ปีแรก ตลอดกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในการขับเคลื่อนมาตรการตามแผนฯ เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด และ 2) แผนปฏิบัติการระยะ 15 ปี (.. 2566 - 2580) เพื่อให้เห็นภาพและทิศทางในระยะยาวของการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุและรองรับสังคมสูงวัยของประเทศให้เกิดความต่อเนื่องกับแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (.. 2545 - 2565) ซึ่งประกอบด้วยแผนปฏิบัติการย่อย 4 แผน ดังนี้

 

แผนปฏิบัติการย่อยและมาตรการที่สำคัญ

 

ตัวชีวัดที่สำคัญและค่าเป้าหมาย

5 ปีแรก .. 2566 - 2570 เช่น

แผนปฏิบัติการย่อยที่ 1 เตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุ (5 มาตรการ)

(1) ส่งเสริมให้ประชากรอายุ 25 - 59 ปี เร่งเตรียมการก่อนยามสูงอายุในมิติทางเศรษฐกิจ เช่น ส่งเสริมการออมเงินเพื่อยามชราภาพ เร่งพัฒนาระบบบำนาญแห่งชาติ1 แบบหลายชั้น เป็นต้น

 

- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีการเตรียมการก่อนยามสูงอายุด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 65

- อัตราความครอบคลุมของหลักประกันยามชราภาพในประชากรอายุ 25 - 59 ปี ร้อยละ 60 

- อัตราเงินออมภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น

- มีระบบบำนาญแห่งชาติเกิดขึ้นภายในปี .. 2570

(2) สร้างเสริมความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการชราภาพ ตระหนักถึงคุณค่า ศักดิ์ศรี และมีความรับผิดชอบต่อผู้สูงอายุ เช่น ส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องกระบวนการชราภาพ รณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

- สัดส่วนประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีการเตรียมการก่อนยามสูงอายุด้านสังคม ร้อยละ 65

- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการชราภาพ ร้อยละ 50 

- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุ ร้อยละ 50

(3) ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง รู้เท่าทันและสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ส่งเสริมประชากรวัยทำงานให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถีชีวิตของตนเอง ส่งเสริมการให้ความรู้และพัฒนาทักษะในการรู้เท่าทันสื่อและใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น

 

- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนหรือใช้บริการแหล่งเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน รวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี ร้อยละ 50 

- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่รู้เท่าทันสื่อและมีพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ ร้อยละ 50

(4) เร่งเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เช่น สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดีและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ส่งเสริมการสร้างความรู้ด้านสุขภาพ เป็นต้น

 

- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีการเตรียมการก่อนยามสูงอายุด้านสุขภาพร้อยละ 65 

- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ 50

(5) ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยสูงอายุและเพิ่มโอกาสในการปรับสภาพที่อยู่อาศัย เช่น ส่งเสริมการปรับปรุงที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะครัวเรือนที่มีบิดามารดาสูงอายุอาศัยอยู่ด้วย ส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

- สัดส่วนของประชากรอายุ 25 - 59 ปี ที่มีความรู้หรือการเตรียมการก่อนยามสูงอายุด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 65

- สัดส่วนของประชากรอายุ 55 - 59 ปี ที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีความปลอดภัยทางกายภาพ เช่น บ้านที่มีการจัดแสงสว่างเพียงพอ บริเวณบันได ห้องน้ำ หรือทางเข้า มีราวจับในห้องน้ำ ประตูห้องน้ำ เป็นแบบเปิดให้คนอื่นสามารถเข้าไปได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ พื้นห้องน้ำไม่ลื่น และมีทางลาดสำหรับรถเข็น เป็นต้น ร้อยละ 65

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พม. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงาน ... กรุงเทพมหานคร (กทม.) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เมืองพัทยา เป็นต้น

หน่วยงานรับผิดชอบร่วม เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำนักงานประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นต้น

แผนปฏิบัติการย่อยที่ 2 ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกมิติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (4 มาตรการ)

(1) ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านเศรษฐกิจ เช่น ปฏิรูประบบหลักประกันยามชราภาพให้เป็นไปอย่างบูรณาการและยั่งยืน สามารถครอบคลุมผู้สูงอายุอย่างพอเพียง ทั่วถึง และเป็นธรรม ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุทั้งภาคในระบบและนอกระบบ เป็นต้น

 

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความยากจนหลายมิติลดลง ร้อยละ 10 จากปีฐาน (.. 2565)

(2) ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสุขภาพ เช่น เสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ พัฒนาระบบสุขภาพรองรับสังคมสูงวัยเชิงรุกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มและเหมาะกับบริบทของพื้นที่ เป็นต้น

 

- อายุคาดเฉลี่ย (จำนวนปีที่คาดหวัง) ของการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุ (Healthy Life Expectancy) ไม่น้อยกว่า 70 ปี

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะสมองเสื่อมไม่เกินร้อยละ 10 

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินคัดกรองสุขภาพ ร้อยละ 70

(3) ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสังคม เช่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการเป็นพลังทางสังคม ส่งเสริมการจัดการสื่อสารสนเทศเพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากร/ที่ปรึกษา/อาสาสมัครร่วมในการทำงานด้านผู้สูงอายุในรอบปีที่ผ่านมา ร้อยละ 20

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารเพื่อผู้สูงอายุ ร้อยละ 60

(4) ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านสภาพแวดล้อม เช่น ส่งเสริมการปรับสภาพที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ได้รับหรือมีการปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมและปลอดภัย ร้อยละ 30 

- สัดส่วนของสถานที่สาธารณะที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ได้จริง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กค. อว. พม. กระทรวงคมนาคม (คค.) รง. วธ. ศธ. สธ. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นต้น

หน่วยงานรับผิดชอบร่วม เช่น ดศ. มท. สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กรมประชาสัมพันธ์ กทม. กบข. กบช. กอช. คปภ. อปท. เมืองพัทยา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น

แผนปฏิบัติการย่อยที่ 3 ปฏิรูปและบูรณาการระบบบริหารเพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ (8 มาตรการ)

(1) แปลงแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุสู่การปฏิบัติและผลักดันให้ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนแผนอย่างมีบูรณาการตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับท้องถิ่น

 

- สัดส่วนของโครงการที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 และสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของโครงการ ร้อยละ 60

(2) ติดตามและประเมินผลนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุในแต่ละระดับ

 

- มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3/ปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 ภายในปี .. 2570

(3) ปฏิรูประบบกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในการรองรับสังคมสูงวัยเชิงรุก

 

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อยู่กับครอบครัว ร้อยละ 90 

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 10

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่พึงพอใจกับระบบทางสัญจรและการคมนาคมทางบก ร้อยละ 60

(4) วางระบบกำลังคนด้านผู้สูงอายุทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในระดับชาติและระดับพื้นที่

 

- มีการกำหนดแผนกำลังคนด้านผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ภายในปี .. 2570 

- มีหลักสูตรอบรมหรือผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

(5) เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาและการจัดการงานด้านผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน/ท้องถิ่น และผู้นำชุมชน

 

- มีฐานข้อมูลของท้องถิ่นที่เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการงานด้านผู้สูงอายุ

(6) พัฒนาระบบการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงทั้งในฐานะผู้รับบริการ ผู้รับสวัสดิการ หรือผู้บริโภค

 

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ถูกละเมิดสิทธิ หรือทารุณกรรมหรือการใช้ความรุนแรงต่างๆ ไม่เกินร้อยละ 30

(7) พัฒนาระบบปกป้องและฟื้นฟูผู้สูงอายุและครอบครัวในยามที่เกิดนานาวิกฤติ

 

- มีแผนปฏิบัติการย่อยเพื่อพัฒนาระบบปกป้องและฟื้นฟูผู้สูงอายุและครอบครัวหากเกิดนานาวิกฤติภายในปี .. 2566

- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ตกอยู่ในภาวะยากลำบากจากภาวะวิกฤติ ไม่เกินร้อยละ 30

(8) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ

 

- สัดส่วนของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุในทุกระดับที่มีความร่วมมือกับภาคเอกชนและสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของโครงการ ร้อยละ 10

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กค. อว. พม. ดศ. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) รง. วธ. ศธ. สธ. สำนักงาน .. สำนักงาน ... สศช. กทม. เมืองพัทยา อปท. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

หน่วยงานรับผิดชอบร่วม เช่น สคบ. พอช. สสส. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

แผนปฏิบัติการย่อยที่ 4 เพิ่มศักยภาพการวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมรองรับสังคมสูงวัย (2 มาตรการ)

(1) ส่งเสริมการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัย/ผลิตภัณฑ์ด้านผู้สูงอายุหรือบริการ/ระบบหรือกระบวนการใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัย/ข้อเสนอเชิงนโยบาย/นวัตกรรมด้านผู้สูงอายุไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

- สัดส่วนของงานวิจัย/นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานให้ทุนหลัก และถูกนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในมิติต่างๆ ร้อยละ 20 

- สัดส่วนของงานวิจัย/โครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานให้ทุนหลักและภาคเอกชน และถูกนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหรือนำไปใช้กำหนดนโยบาย (ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา) ร้อยละ 20

(2) ส่งเสริมการพัฒนาระบบข้อมูล งานวิจัยและนวัตกรรมด้านผู้สูงอายุที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ เช่น สร้างระบบข้อมูลงานวิจัย และนวัตกรรมด้านผู้สูงอายุของประเทศ สร้างกลไกเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านผู้สูงอายุจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ จังหวัด และท้องถิ่น เป็นต้น

 

- ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่นำข้อมูลหรือผลงานวิจัยด้านผู้สูงอายุไปใช้ประโยชน์

- มีระบบข้อมูลด้านผู้สูงอายุ และข้อมูลงานวิจัยและนวัตกรรม

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น อว. ดศ. มท. พอช. กทม. เมืองพัทยา อปท.

หน่วยงานรับผิดชอบร่วม เช่น กค. พม. พณ. สธ. สสส. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

4. กลไกการบริหารจัดการแผนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย

 

4.1 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติทำหน้าที่สร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญและร่วมผลักดันแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) ไปสู่การปฏิบัติ สร้างความเข้าใจกับภาคีทุกภาคส่วนทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดกิจกรรมในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์แผนฯ ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

4.2 ส่งเสริมให้มีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) กับแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุในระดับจังหวัดและในระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างมีบูรณาการในทุกระดับ

4.3 กำหนดให้กรมกิจการผู้สูงอายุเป็นหน่วยงานกลางในการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการระหว่างกระทรวงและผลักดันให้จังหวัดและท้องถิ่นมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อรองรับแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุในพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ

4.4 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) ไปสู่การปฏิบัติ ทั้งในรูปของความรับผิดชอบต่อสังคมและการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม

5. แนวทางและกลไกในการติดตามและประเมินผล

 

5.1 ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีกรมกิจการผู้สูงอายุเป็นศูนย์รวมข้อมูลผลการดำเนินงานรายปีในภาพรวมทั้งในส่วนของผลผลิตและผลลัพธ์

5.2 นำเสนอผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) ต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นประจำทุกปี

5.3 จัดทำการประเมินผลการดำเนินงานทุก 5 ปี โดยหน่วยงานกลางหรือหน่วยงานภายนอกด้วยเช่นกัน เพื่อวัดสัมฤทธิ์ผลของแผน ทั้งผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบตามมาตรการของแผน หลังจากนั้นจึงนำเสนอผลต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุ

5.4 มีการปรับแผนเป็นระยะอย่างน้อย 5 ปี ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรม และผลจากการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ

 

        3. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) จัดเป็นแผนระดับ 3 ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560 - 2564) มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนเป็นสังคมสูงวัย ซึ่งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) และให้ พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุนำเสนอแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (.. 2566 - 2580) ต่อคณะรัฐมนตรี และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการต่อแผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีความเห็นเพิ่มเติมให้ พม. เพิ่มจุดเน้นที่สำคัญ เช่น การเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุควรเน้นเรื่องการพัฒนาระบบการออมภาคบังคับและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาโครงการควรมีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและแผนงานในระดับสากลที่ประเทศไทยเกี่ยวข้อง เป็นต้น [พม. ได้ปรับปรุงแผนงานและโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วนใน 5 ปีแรก (.. 2566 - 2570) ตามความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว] และให้ พม. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

_____________________________

1 ระบบบำนาญแห่งชาติ มีจุดประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันทางรายได้ของผู้สูงอายุ โดยครอบคลุมคนทำงานทุกคนทั้งในและนอกระบบประกันสังคมที่อยู่ในวัยสูงอายุ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ .. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับสำหรับแรงงานในระบบที่มีอายุตั้งแต่ 15 - 60 ปี เพื่อให้แรงงานในระบบได้มีการออมเพื่อการเกษียณเพิ่มเติม นอกจากนี้ กบช. จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับระบบบำเหน็จบำนาญ เพื่อให้มีระบบข้อมูลสำหรับใช้ประโยชน์ในการยกระดับการบริหารจัดการระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุทั้งระบบ ทั้งนี้ สมาชิกของ กบช. สามารถเลือกรับบำนาญ 20 ปี หรือบำเหน็จเมื่ออายุครบ 60 ปี บริบูรณ์

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 17 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5603

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!