หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 5

 

 

 

รายงานประจำปี 2564 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา* (กสศ.) เสนอ รายงานประจำปี 2564 ของ กสศ. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา .. 2561 ที่บัญญัติให้ กสศ. จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานการสอบบัญชี (กสศ. ได้รับรายงานเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ผลการดำเนินงานของ กสศ. ประจำปี 2564 ที่สำคัญ ดังนี้

 

 

โครงการ

 

ผลการดำเนินงาน

1) มาตรการเร่งด่วนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19)

 

ให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่นักเรียนในครอบครัวยากจนพิเศษกลุ่มช่วงชั้นรอยต่อของระดับการศึกษา (อนุบาลศึกษาปีที่ 3 ประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3) ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะหลุดจากระบบการศึกษา จำนวน 294,424 คน รวมทั้งได้ดำเนินการโครงการระดมความร่วมมือภาคเอกชนและภาคประชาชนเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบางในภาวะวิกฤตผ่านโครงการต่างๆ มีเด็กและเยาวชนขาดแคลนทุนทรัพย์หรือ ด้อยโอกาสได้รับประโยชน์ จำนวน 33,532 คน

2) โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

 

ส่งเสริมและสนับสนุนให้จังหวัดหรือท้องถิ่นมีระบบการช่วยเหลือและแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในระดับพื้นที่ผ่านต้นแบบและระบบการทำงานใหม่ๆ โดยมีกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์ ได้แก่ 1) เด็กปฐมวัยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 54,028 คน และ 2) เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา จำนวน 7,142 คน ได้รับการช่วยเหลือให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือได้รับการฝึกทักษะอาชีพเพื่อสร้างรายได้

3) โครงการพัฒนาทักษะแรงงานขาดแคนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน

 

กลุ่มประชากรวัยแรงงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 จำนวน 8,561 คน ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต มีแผนการประกอบอาชีพ และเกิดการรวมกลุ่มและพัฒนาไปสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชน และมีการพัฒนาหน่วยพัฒนาอาชีพจำนวน 117 แห่ง ใน 48 จังหวัด 6 ภูมิภาคทั่วประเทศที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน

4) โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา

 

ช่วยเหลือ ดูแล และพัฒนาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจำนวน 36,268 คน ให้ได้รับโอกาสในการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามบริบทและสภาพปัญหา รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพและทักษะของครูนอกระบบ จำนวน 3,471 คน เพื่อให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ เช่น การออกแบบกระบวนการเรียนรู้และสามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจจิตวิทยาเด็กและระบบการคุ้มครองเด็ก

5) โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข

 

ส่งเสริมและสนับสนุนโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กและเยาวขนวัยเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส (นักเรียนยากจนพิเศษโดยมีการติดตามเงื่อนไขการมาเรียนและพัฒนาการที่สมวัยตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้ ในภาคเรียนที่ 1/2564 มีผู้ได้รับเงินอุดหนุน จำนวน 1,244,591 คน

6) โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

 

ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสให้มีโอกาสศึกษาต่อในสายอาชีพในระดับ ปวช. และ ปวส. ในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการแรงงานฝีมือ เช่น การแปรรูปอาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพผ่านการให้ทุนการศึกษา จำนวน 7,067 คน และสนับสนุนทุนนวัตกรรมสายอาชีพให้นักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 189 ทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย และผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

7) โครงการทุนพัฒนาเต็มศักยภาพสายอาชีพ

 

สร้างโอกาสทางการศึกษาสายอาชีพระดับสูงให้แก่เยาวขนที่มีความสามารถพิเศษแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสระดับ ปวช. หรือ ปวส. โดยการให้ทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และเอก จำนวน 85 คน มีการบูรณาการและยกระดับการพัฒนาและส่งเสริมนักศึกษาช้างเผือกผ่านความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น การทำโครงงานหรือวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการ การส่งเสริมทักษะชีวิต และการเปิดโลกด้านเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้นักศึกษาทุนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความพร้อมและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติต่อไป

8) โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน

 

สร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับเยาวชนยากจนหรือด้อยโอกาสให้เข้าถึงการศึกษาในในระดับอุดมศึกษา จำนวน 627 คน ในสถาบันผลิตและพัฒนาครู 15 แห่งทั่วประเทศ พัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่เป็นโรงเรียนปลายทางของนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น และการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลตามเป้าหมายจำนวน 600 แห่ง ให้มีระบบการบริหารจัดการและวิชาการที่เข้มแข็งต่อเนื่อง

9) โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

 

โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 727 แห่ง เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ทำให้นักเรียนกว่า 190,000 คน มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสูงขึ้น ทั้งนี้ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้และบริหารจัดการภายในโรงเรียน 2) การบริหารจัดการด้านวิชาการ และ 3) การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา

10) โครงการวิจัยและนวัตกรรมด้านการศึกษา

 

มีการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม รวม 33 ชิ้นงาน จำแนกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) นวัตกรรมระบบเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและระบบฐานข้อมูลสถานะความเหลื่อมล้ำและคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ 2) การวิจัยและประเมินผล เช่น งานวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและ 3) การพัฒนาเครือข่ายการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและ การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เช่น งานวิจัยผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 กับกลุ่มเป้าหมายของ กสศ. และการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อลดภาวะการเรียนรู้ถดถอย

 

GC 720x100


TU720x100

 

          2. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 มีความถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท 

รายการ

ปี 2564

ปี 2563

เพิ่มขึ้น/(ลดลง)

1. งบแสดงฐานะการเงิน วันที่ 30 กันยายน 2564

    รวมสินทรัพย์

3,085.09

2,625.41

459.68

    รวมหนี้สิน

168.16

97.51

70.65

    รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน

2,916.93

2,527.90

389.03

2. งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564

    รวมรายได้

6,152.70

5,538.78

613.92

    รวมค่าใช้จ่าย

5,763.67

5,150.48

613.19

    รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ

389.03

388.30

0.73

3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564

    ทุนประเดิม

1,011.96

1,011.96

คงเดิม

    รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม

1,904.94

1,515.91

389.03

    องค์ประกอบอื่นของสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน

0.03

0.03

0.00

    รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน (ยอดคงเหลือ)

2,916.93

2,527.90

389.03

 

หมายเหตุ : ปี 2564 ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาจากค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าใช้จ่ายโครงการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

____________________

*กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา สนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายให้แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถจัดการเรียนการสอน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 24 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5839

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!